สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

ตราสัญลักษณ์

     พระราชลัญจกรประจำพระองค์ หมายถึง พระตราที่ใช้ประทับกำกับ พระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ในต้นเอกสารสำคัญ ส่วนพระองค์ที่ไม่เกี่ยวด้วยราชการ แผ่นดิน

     พระราชลัญจกรประจำพระองค์ รัชกาลที่ ๙ เป็นรูปพระที่นั่งอิฐทิศ ประกอบด้วยวงจักรกลางวงจักรมีอักขระเป็น อุ หรือเลข ๙ รอบวงจักร มีรัศมีเปล่งออกโดยรอบเหนือจักรเป็นรูปเศวตเจ็ดชั้น ฉัตรตั้งอยู่บนพระที่นั่งอิฐทิศ แปลความหมายว่าทรงมีพระบรมเดชานุภาพในแผ่นดิน (โดยที่วันพระบรมราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณีได้เสด็จประทับเหนือพระที่นั่งอิฐทิศ สมาชิกรัฐสภาถวายน้ำอภิเษกจากทิศทั้งแปด นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่พระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย ทรงรับน้ำอภิเษกจากสมาชิกรัฐสภาแทนที่จะทรงรับจากราชบัณฑิตดังในรัชกาลก่อน)


img



สีน้ำเงิน สถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ให้กำเนิด และพระราชทานนาม "สถาบันราชภัฏ"
สีเขียว แหล่งที่ตั้งของสถาบันฯ 38 แห่ง ในแหล่งธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม
สีทอง ความเจริญร่งเรืองทางภูมิปัญญา
สีส้ม ความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรม ท้องถิ่นที่ก้าวไกลใน 38 สถาบัน
สีขาว ความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

สีประจำมหาวิทยาลัย

img

สีชมพู

img

สีแดง

ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัย


img

ดอกเฟื่องฟ้า(Bougainvillea)
     เฟื่องฟ้า มีชื่อสามัญว่า Bougainvillea, Paper Flower และชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bougainvillea Hyhrida ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ ได้แก่ Peper Flower, Kertas, ตรุษจีน อยู่ในตระกูล Nyctaginaceae ถูกค้นพบครั้งแรกในประเทศบราซิล โดยนักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศสราวปี คศ. 1766 - 1769 และได้ถูกนำไปปลูกยังส่วนต่างๆ ของโลก เริ่มจากยุโรป อเมริกาเหนือ และเอเซีย สำหรับในประเทศไทย มีการนำพันธุ์เฟื่องฟ้าเข้ามาจากสิงคโปร์ครั้งแรกราวปี พศ.2423 ใน สมัยรัชการที่ 5